วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำอย่างไรจึงได้ครูเก่งครูดี

เหตุผล หนึ่งของยุทธศาสตร์และมาตรการการปฏิรูประบบคุรุศึกษาของประเทศที่คณะอนุกรรม การคุรุศึกษาแห่งชาตินำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการในสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่าง ยิ่งขณะนี้ คือ วิชาครูไม่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่เก่งและดีมาเรียนครูและไม่ประกอบอาชีพ ครู หลักสูตรและกระบวน การผลิตครูขาดความลุ่มลึกของศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครู ไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

รวม ไปถึงขาดความกลมกลืนระหว่างความเป็นสากลกับฐานทางสังคมและวัฒนธรรมไทย ไม่เน้นการปลูกฝังอย่างต่อเนื่องและจริงจังด้านคุณค่า คุณธรรม จิตวิญญาณของความเป็นครู จึงทำให้ครูไม่สามารถเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา

อีก ประการหนึ่งที่คณะอนุกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติเน้นย้ำ คือการขาดแคลนคณาจารย์ (ครูของครู) ที่มีคุณวุฒิ ประสบ การณ์สูง และมีความลุ่มลึกในสาระวิชาที่สอน เป็นเหตุให้ต้องพึ่งคณะอื่น เช่น วิทยา ศาสตร์ อักษรศาสตร์ ช่วยสอนสาระวิชาเอกให้ ซึ่งมีอุปสรรค ขาดความคล่องตัว สถาบันผลิตครูขาดความเป็นองค์รวมของการจัดศาสตร์ในสาขาครุศาสตร์/ศึกษา ศาสตร์ เพราะสถาบันผลิตครูที่มีอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป้าหมายการผลิตครูไปเน้นการ สร้างหลักสูตรของศาสตร์ต่างๆ จนเกิดเป็นคณะต่างๆ และกลายเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ

คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จึงเป็นเพียงคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับความสนใจมาก สภาพการณ์เช่นนี้ส่งผลให้สถาบันผลิตครูขาดความพร้อมและความเข้มแข็งที่จะทำ หน้าที่ผลิตครูให้ได้ตามคุณภาพและมาตรฐานอันพึงประสงค์

ที่สำคัญคือ ขาดสถาบันกลางระดับชาติที่จะทำหน้าที่เสริมสร้างเอกภาพทางด้านนโยบาย คุณภาพและมาตรฐานการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู คณาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษา ให้ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทั้งด้านวิชาการและ วิชาชีพทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็น ชัดเจนว่าจำเป็นต้องมีการปฏิรูปคุรุศึกษาของประเทศทั้งระบบ เพื่อให้มีการผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประการ ดังกล่าวย่อมส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของผู้เรียน และเป็นการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเรียนรู้ของคนไทยได้ตามเป้าประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ สองอย่างแท้จริง

เมื่อรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองยังไม่รับเรื่องการจัด ตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ โดยให้กลับไปทบทวนอีกครั้ง แต่การดำเนินงานตามข้อเสนออีก 5 ประการก็ควรดำเนินต่อไป

ประการแรก คือการส่งเสริมนวัตกรรม หลักสูตรการผลิตครูที่หลากหลายโดยมีมาตรการดังนี้

1.ศึกษา วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมหลักสูตรให้เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

2.ปรับ ปรุงโครงสร้างและสาระหลัก สูตรการผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้มีความหลากหลาย เช่น หลักสูตร 4 + 1, 4 + 2, 5 + 1, หลักสูตร 2 ปริญญา และหลักสูตรอื่น รวมทั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

3.ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรระดับบัณฑิต ศึกษาให้ชัดเจนระหว่างหลักสูตรสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาวิชาชีพอื่น และหลักสูตรสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาวิชาการศึกษา

นอกจากนั้นยังต้องยกเครื่องระบบ บริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง

มาตรการในการดำเนินงานมีหลายประการ จะได้ยกมากล่าวถึงต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น