วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ครูพันธุ์ใหม่กับครูยุคใหม่

เมื่อปลายสัปดาห์ที่ ผ่านมา จากผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธาน มีการ พิจารณายุทธศาสตร์และมาตรการการปฏิรูประบบคุรุศึกษาแห่งชาติ ที่เสนอโดยคณะอนุกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติที่มีนายวรา กรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ซึ่งมีเป้าหมาย 2 เป้าหมาย คือ เป้าหมายให้คนไทยยุคใหม่ใฝ่ดี ใฝ่รู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และเป้าหมายเพื่อคุณภาพการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่นำเสนอมี 6 หัวข้อ ประกอบด้วย

1.จัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ

2.ยกเครื่องระบบการพัฒนาและฝึกอบรมครู

3.สร้างครูพันธุ์ใหม่

4.ส่งเสริมนวัตกรรมหลักสูตรการผลิตครู

5.ยกเครื่องระบบการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา

6.เสริมสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งให้สถาบันการผลิตครู

ทั้ง 6 ประการคณะ กนป.เห็นว่าควรทบทวนการจัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติไว้ก่อน เนื่องจากการจัดตั้งต้องออกเป็นกฎหมาย ต้องใช้เวลานาน จึงเสนอให้กลไกของคณะอนุกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติทำงานคู่ขนานกับหน่วยการ ผลิตครู และให้อนุกรรมการรวบรวมตัวเลขการผลิตครูให้ชัดเจน จากการเกษียณราชการปกติ และเกษียณก่อนกำหนด รวมทั้งขอให้เร่งรัดจัดทำหลักสูตรการผลิตครู

สำหรับครูที่จะเกษียณราชการใน 10 ปีข้างหน้ามีถึง 200,000 คน

เฉพาะเรื่องของครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งคณะอนุกรรมการแจงออกเป็น ครูพันธุ์ใหม่ และครูยุคใหม่ กล่าวคือ

ครู พันธุ์ใหม่ หมายถึง ครูที่ผลิตขึ้นมาโดยหลักสูตรใหม่ที่หลากหลาย (หลักสูตร 4+1, 4+2, 5+1, หลักสูตร 2 ปริญญา และหลักสูตรอื่นๆ) ในสาขาวิชาต่างๆ (ครู สควค. ครูสอนภาษาต่างประเทศ และสาขาอื่นๆ)

ครูยุคใหม่ หมายถึง ครูประจำการที่ได้รับการพัฒนาโดยหลักสูตรใหม่และรูปแบบที่หลากหลาย

การ จะได้มาซึ่งครูพันธุ์ใหม่ต้องมีการสร้างเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียน รู้ของผู้เรียน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนการผลิตในรูปแบบใหม่ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาศึกษาในหลักสูตรการผลิตครูตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในสถาบันผลิตครู ที่มีความเชี่ยวชาญ

แรงจูงใจจึงต้องมีทั้งในรูปแบบการให้ทุนการ ศึกษา การประกันการมีงานทำด้วยการบรรจุเข้ารับราชการครูในพื้นที่ที่กำหนดเมื่อ สำเร็จการศึกษา

สำหรับครูยุคใหม่ มาตรการระยะสั้นเร่งด่วน คือการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและฝึกอบรมครูจากแบบ "เหมารวม" มาเป็น "แบบหลากหลาย" เพื่อให้อิสระครูเลือกเข้ารับการอบรมได้ตามความต้องการและสอดคล้องกับวิชา ที่สอน ด้วยการจัดระบบคูปองเพื่อการพัฒนาตนเองของครู และเน้นการกระจายสู่พื้นที่ (Area-based Training) และ Outsourcing System เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบัน และที่มีผู้มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญจริงเป็นผู้จัดฝึกอบรม รวมทั้งให้ครูมีโอกาสเรียนรู้โดยเห็นตัวอย่างที่ดีจากเพื่อนครู เช่น ครูต้นแบบ ครูแห่งชาติ และควรใช้ "วิทยากรมืออาชีพ" ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาในรูปแบบใหม่

ขณะที่น่าเป็นห่วงคือวิชาชีพครูไม่อาจดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่เก่งและดีมาเรียนครูและประกอบอาชีพครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น